งานจัดการพลังงาน กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
Energy management

      

      รศ.จักรพงษ์ พิมพ์พิมล

 รองอธิการบดีรักษาการแทนผู้อำนวยการ

    กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
        ภารกิจผู้อำนวยการ 

        ภารกิจรองอธิการบดี

        

    นายเสกสรรค์ ขวัญศรีวงค์
    หัวหน้างานจัดการพลังงาน
        ภารกิจหัวหน้างาน   

  ทะเบียนการออกเลขที่หนังสือ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม

ข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรม

จานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์ ผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากแสงแดดและน้ำ
วิศวกรจาก EPFL สร้างและทดสอบ "จานปฎิกรณ์แสงอาทิตย์" ที่สามารถผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากแสงแดดและน้ำ พบผลลัพธ์ภายใน 1 ปี จะให้พลังงานแก่รถยนต์ไฟฟ้าพลังเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน 1.5 คัน หรือรองรับการใช้พลังงานไฟฟ้าในครัวเรือนที่มีสมาชิกครอบครัว 4 คนไฮโดรเจน" ถือเป็นอีกหนึ่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งการผลิตไฮโดรเจนให้มีประสิทธิภาพสูงนั้นต้องใช้น้ำเป็นวัตถุดิบหลัก และใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวทำความร้อนที่ทำให้น้ำเดือดและระเหยกลายเป็นก๊าซไฮโดรเจน โดยกระบวนการนี้เรียกว่าการสังเคราะห์ด้วยแสงเทียม ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานของจานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์"จานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์" ผลิตโดยทีมวิศวกรจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส โลซาน หรือ EPFL (École Polytechnique Fédérale de Lausanne) มีลักษณะเหมือนจานดาวเทียม และมีระบบการทำงานที่คล้ายกับต้นไม้เทียม โดยจานปฏิกรณ์นี้มีพื้นผิวโค้งขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการรวบรวมแสงให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นการรวบรวมความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่มีความร้อนประมาณ 800 เท่า ไปยังเครื่องปฏิกรณ์โฟโตอิเล็กโตรเคมีที่แขวนอยู่ตรงกลาง และทำการสูบน้ำเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์นี้ จากนั้นใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการแยกโมเลกุลออกมากลายเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจนจากการทดสอบเป็นเวลากว่า 13 วัน ในวิทยาเขต EPFL พบว่า ประสิทธิภาพการผลิตด้วยจานปฏิกรณ์นั้นใช้น้ำในการผลิตอยู่ที่ 20% จึงทำให้น้ำส่วนที่เหลือจะไม่ได้ถูกแยกเป็นก๊าซแต่จะถูกทำให้ร้อนมากพอสำหรับส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมต่อไป ซึ่งจานปฏิกรณ์สามารถผลิตไฮโดรเจนได้ประมาณ 500 กรัมต่อวันด้วยผลลัพธ์นี้ ภายใน 1 ปี ระบบจะสามารถให้พลังงานแก่รถยนต์ไฟฟ้าพลังเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (FCEV) 1.5 คัน หรือรองรับการใช้พลังงานไฟฟ้าในครัวเรือนที่มีสมาชิกครอบครัว 4 คนนอกจากนี้ จานปฏิกรณ์ยังมีความสามารถในการดักจับของเสีย 2 ชนิดที่ปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิตไฮโดรเจน ได้แก่ ออกซิเจน และความร้อน โดยออกซิเจนจะมีประโยชน์สำหรับใช้ในโรงพยาบาลหรืออุตสาหกรรม ในขณะที่ความร้อนจะถูกส่งผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนและสามารถใช้เพื่อทำน้ำร้อนใช้ภายในอาคารจานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าด้วยไฮโดรเจนได้ถึง 2 กิโลวัตต์ (kW) ซึ่งทำลายสถิติเดิมของการทดลองจานปฏิกรณ์นำร่องที่ผลิตได้ 1 กิโลวัตต์ (kW) ซึ่งอัตราการผลิตไฮโดรเจนที่ทำได้ในครั้งนี้สะท้อนถึงความน่าสนใจในการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป
11 พฤษภาคม 2566
โครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานและสาธิตการใช้พลังงานชีวภาพ (Bioenergy)
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ขอเชิญเข้าร่วม  โครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานและสาธิตการใช้พลังงานชีวภาพ (Bioenergy) จากพืชเศรษฐกิจที่มีการใช้จุลินทรีย์หรือจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมในกระบวนการผลิตเอทานอลและก๊าซชีวภาพ(red flag)สัมมนาชี้แจงโครงการและเผยแพร่ความรู้ จำนวน 5 ครั้ง (5 ภูมิภาค) สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาได้ที่ ?? https://forms.gle/1jnB1MAoTvsgQVtJ7(red flag)รับสมัครโรงงานต้นแบบเข้าร่วมโครงการ (จำนวนจำกัด) สนใจเข้าร่วมเป็นโรงงานต้นแบบ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  https://bit.ly/42ejmozสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณชนิกานต์ ขำประไพ (กานต์)  095 368 8396 คุณธันวรัตน์ ฉัตรศรี (ดาว)  02-129-3959งานสัมมนานี้เป็นการเริ่มต้นโครงการ ทางทีมจะมีโอกาสถ่ายทอดแนวคิดของภาครัฐเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในรูปแบบโครงการนำร่องซึ่งน่าจะนำมาใช้กับไบโอแก็สในทุกอุตสาหกรรม รวมทั้งในงานสัมมนายังได้มีโอกาสทบทวนกันเรื่อง Safetyในระบบก๊าซชีวภาพด้วยครับคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ จากตรงนี้ทางผู้วิจัยจะนำความรู้/ประสบการณ์ของทุกท่านไปพัฒนาคู่มือดูแลระบบก๊าซชีวภาพให้ดียิ่งขึ้นด้วยครับ เอกสารและะผลงานวิจัยของโครงการน่าจะมีประโยชน์กลับผู้สนใจพัฒนาโครงการก๊าซชีวภาพต่อไป
11 พฤษภาคม 2566
งานสหกิจศึกษา วันที่ 24-25 พ.ย. 2564 ให้ความรู้และสอนงานนักศึกษาสหกิจเรื่องการตรวจสอบและนำนักศึกษาดำการจดบันทึกมิเตอร์ไฟฟ้า มิเตอร์น้ำประปา อาคารที่ทำการ บ้านพัก ร้านค้าผู้ประกอบการภายในมหาวิทยาลัยทั้งหมด เพื่อจัดทำรายงานและวิเคราะห์สถิติกการใช้ไฟฟ้า และน้ำประปาของมหาวิทยาลัยประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
งานสหกิจศึกษา วันที่ 24-25 พ.ย. 2564 ให้ความรู้และสอนงานนักศึกษาสหกิจเรื่องการตรวจสอบและนำนักศึกษาดำการจดบันทึกมิเตอร์ไฟฟ้า มิเตอร์น้ำประปา อาคารที่ทำการ บ้านพัก ร้านค้าผู้ประกอบการภายในมหาวิทยาลัยทั้งหมด เพื่อจัดทำรายงานและวิเคราะห์สถิติกการใช้ไฟฟ้า และน้ำประปาของมหาวิทยาลัยประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
25 พฤศจิกายน 2564
แนะวิธีติด "หลังคาโซลาร์เซลล์" ดูยังไง แบบไหนคุ้ม ?
แนะวิธีติด "หลังคาโซลาร์เซลล์" ดูยังไง แบบไหนคุ้ม ? ทันข่าวพลังงาน โซลาร์เซลล์ solarcell Highlightกระแสรักษ์โลกที่ผู้คนหันมาสนใจเรื่องพลังงานสะอาด จนหลายๆ บ้านเริ่มมีการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์กันแพร่หลายมากกว่าเมื่อก่อน แต่การติดตั้ง "หลังคาโซลาร์เซลล์" นั้น นอกจากเรื่องความปลอดภัย การใช้งานแล้ว เรื่องของความคุ้มค่าก็เป็นประเด็นสำคัญในการตัดสินใจของหลายๆ คน แต่ก่อนอื่น ทันข่าวToday อยากจะมาทบทวนเรื่องระบบโซลาร์เซลล์ กันสักนิดว่ามีกี่แบบ  3 ระบบโซลาร์เซลล์ ที่เราควรรู้จักก่อน 1. ระบบออนกริด (On-Grid System) ที่ติดตั้งร่วมกับไฟจากการไฟฟ้านั้น มีจุดประสงค์เพื่อช่วยทุ่นค่าไฟในช่วงเวลากลางวัน จึงใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เพราะนั่นก็เท่ากับกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากโซลาร์เซลล์ก็คือหน่วยพลังงานสำหรับขับเคลื่อนกระแสไฟฟ้าภายในบ้านตามปกติ โดยมีอินเวอร์เตอร์ทำหน้าที่สลับระหว่างกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์กับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้ากรณีจากโซลาร์เซลล์ไม่เพียงพอกับการใช้งาน เช่นในช่วงกลางคืน หรือกลางวันแต่พลังงานแสงไม่เพียงพอ ถือเป็นระบบที่หลายบ้านนิยมติดตั้งกัน เพราะสามารถขายคืนให้การไฟฟ้าฯ ได้ แต่ก่อนติดตั้งต้องขออนุญาตก่อนเสมอ 2. ระบบไฮบริด (Hybrid) ข้อแตกต่างระบบนี้อยู่ที่มีแบตเตอรี่มาสำรองพลังงาน สำหรับใช้งานในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ และกรณีที่ผลิตกระแสไฟฟ้ามากพอเกินกว่าการใช้งานแล้ว ระบบจะนำกระแสไฟฟ้าชาร์ตเข้าแบตเตอรี่ เพื่อนำไปใช้งานต่อในเวลาอื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อบ้านไหนที่ไฟตกบ่อยก็สามารถดึงเอาไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาใช้งาน 3. ระบบออฟกริด (Off-Grid System) ข้อแตกต่างอยู่ตรงไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การติดตั้งจะไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อน  เหมาะกับการใช้งานโดยตรงจากแผงสู่อุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆ เช่น แสงสว่าง หรือปั๊มน้ำ ในอดีตจึงเหมาะกับพื้นที่ห่างไกลที่ต้องสำรองไฟสำหรับใช้ในเวลาจำเป็น หรือสำหรับงานภายนอกบ้านที่ไม่เกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าหลักภายในบ้าน ?? ก่อนติดตั้ง ต้องรู้จัก 5 อุปกรณ์หลักที่ใช้งาน  1. ตัวแผงโซลาร์เซลล์ 2. เครื่องอินเวอร์เตอร์ ที่แปลงจากกระแสไฟฟ้าตรงให้เป็นกระแสไฟฟ้าสลับสำหรับการใช้งานภายใน บ้าน 3. แบตเตอรี่ (Battery) อุปกรณ์สำหรับเก็บไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ 4. เครื่องควบคุมการชาร์จไฟ (Solar control charger) ทำหน้าที่คุมแรงดันและกระแสไฟฟ้าที่เข้าสู่แบตเตอรี่ในปริมาณที่เหมาะสม  5. อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร (Over Current Protection & Accessaries) และสิ่งที่สำคัญที่ลืมไม่ได้ คือ โครงสร้างหลังคา โดยส่วนของหลังคาที่สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้นั้น จะต้องเป็นพื้นที่รับแดดตลอดทั้งวัน สำหรับประเทศไทยคือทางทิศใต้ ดูระนาบและองศาของการติดตั้ง ซึ่งเหมาะสมที่สุดควรเอียงทำมุมที่ 15 องศา รวมทั้งเรื่องสำคัญโครงสร้างหลังคาแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ได้ทั้งระบบ ?? ติดตั้งเท่าไหร่ถึงจะคุ้มทุน ใครๆ ก็พูดว่าระยะยาวคุ้มทุน แล้วก็ขายไฟคืนให้รัฐได้ด้วย แต่อย่าลืมว่าเราต้องลงทุนก่อนเป็นสิ่งแรก ซึ่งเราก็ควรนึกถึงการใช้ไฟฟ้าในบ้านของเราก่อนว่าควรติดตั้งเท่าไหร่ดีจึงจะพอดีกับการใช้งานในครัวเรือน มาเริ่มต้นคำนวณค่าไฟกันก่อน ทางนี้  1. คำนวณจากหน่วยไฟฟ้าเป็น "กิโลวัตต์"  ซึ่งขนาดแผงโซลาร์เซลล์ สมมติว่า "1 แผง มีขนาดเท่ากับ 120*60 เซนติเมตร มีพื้นที่เท่ากับ 0.72 ตร.ม. มีกำลังผลิตแผงละ 102 วัตต์" ดังนั้นหากต้องการผลิตให้ได้ 1 กิโลวัตต์ ต้องใช้ 10 แผงในการติดตั้ง กินพื้นที่บนหลังคาเท่ากับ 7.2 ตร.ม. 2. จากนั้นมาดูปริมาณการใช้งานไฟฟ้าในแต่ละเดือนของเราว่าใช้เดือนละกี่หน่วย (KW-h) สมมติ ถ้าใช้เดือนละ 2,000 หน่วย (เสียค่าไฟฟ้าประมาณเดือน 10,000 บาท) ให้จดเลขมิเตอร์ 2 ครั้งใน 1 วัน ในช่วงเช้าเวลาประมาณ 9.00 น. และเย็น 17.00 น. ทั้งหมด 4 วัน แล้วนำมาลบกันก็จะได้ค่าจำนวนหน่วยที่ใช้ในเวลากลางวัน  จากนั้นนำหน่วยทั้งหมดที่ได้มาหาร 4 ยกตัวอย่างเช่น 55+40+50+45 = 190/4 เฉลี่ยแล้วใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันประมาณ 47.5 หน่วย 3. ใน 1 วันมีแสงอาทิตย์ประมาณ 5 ชม.  เราก็ต้องนำ 47.5 หน่วย หาร 5 ได้เท่ากับ 9.5 กิโลวัตต์ ดังนั้นการติดตั้งโซลาร์เซลล์ประมาณ 10 กิโลวัตต์จึงจะเหมาะสมและคุ้มทุนที่สุด โดยจำนวนแผงที่จะติดตั้งต้องดูตามปริมาณวัตต์ต่อ 1 แผง อายุการใช้งานของระบบประมาณ 20-25 ปี ลองเคาะตัวเลขกันดู ว่าจุดคุ้มทุนเรามากน้อยแค่ไหน ข้อมูลอ้างอิง  การไฟฟ้านครหลวง  สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1129y
30 มีนาคม 2564
โครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานและสาธิตการใช้พลังงานชีวภาพ (Bioenergy)
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ขอเชิญเข้าร่วม  โครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานและสาธิตการใช้พลังงานชีวภาพ (Bioenergy) จากพืชเศรษฐกิจที่มีการใช้จุลินทรีย์หรือจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมในกระบวนการผลิตเอทานอลและก๊าซชีวภาพ(red flag)สัมมนาชี้แจงโครงการและเผยแพร่ความรู้ จำนวน 5 ครั้ง (5 ภูมิภาค) สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาได้ที่ ?? https://forms.gle/1jnB1MAoTvsgQVtJ7(red flag)รับสมัครโรงงานต้นแบบเข้าร่วมโครงการ (จำนวนจำกัด) สนใจเข้าร่วมเป็นโรงงานต้นแบบ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  https://bit.ly/42ejmozสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณชนิกานต์ ขำประไพ (กานต์)  095 368 8396 คุณธันวรัตน์ ฉัตรศรี (ดาว)  02-129-3959งานสัมมนานี้เป็นการเริ่มต้นโครงการ ทางทีมจะมีโอกาสถ่ายทอดแนวคิดของภาครัฐเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในรูปแบบโครงการนำร่องซึ่งน่าจะนำมาใช้กับไบโอแก็สในทุกอุตสาหกรรม รวมทั้งในงานสัมมนายังได้มีโอกาสทบทวนกันเรื่อง Safetyในระบบก๊าซชีวภาพด้วยครับคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ จากตรงนี้ทางผู้วิจัยจะนำความรู้/ประสบการณ์ของทุกท่านไปพัฒนาคู่มือดูแลระบบก๊าซชีวภาพให้ดียิ่งขึ้นด้วยครับ เอกสารและะผลงานวิจัยของโครงการน่าจะมีประโยชน์กลับผู้สนใจพัฒนาโครงการก๊าซชีวภาพต่อไป
11 พฤษภาคม 2566
กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนฉบับที่ 2 ระวัง"พายุฤดูร้อน-ลูกเห็บตก-ฟ้าผ่า" 3 - 6 เม.ย.
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับที่ 2 พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ระวังพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นด้วย มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3 - 6 เมษายน 2564 วันที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 11.00 น. นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 1 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3 - 6 เมษายน 2564) ข้อความว่า ในช่วงวันที่ 3 - 6 เมษายน 2564 ประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นด้วย กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนฉบับที่ 2 ระวัง"พายุฤดูร้อน-ลูกเห็บตก-ฟ้าผ่า" 3 - 6 เม.ย. กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับที่ 2 พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ระวังพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นด้วย มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3 - 6 เมษายน 2564 วันที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 11.00 น. นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 1 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3 - 6 เมษายน 2564) ข้อความว่า ในช่วงวันที่ 3 - 6 เมษายน 2564 ประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นด้วย โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไปจึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วยทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดต่อเนื่องกันหลายวันประชาชนสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 11.00 น.ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยาข่าวที่เกี่ยวข้องข่าวที่เกี่ยวข้อง:คุณภาพอากาศ ภาคเหนือเช้านี้ จมฝุ่น PM 2.5กรุงเทพฯค่อนข้างดีเกือบทุกพื้นที่ ค่าฝุ่น PM 2.5 เช้านี้ พบเกินค่ามาตรฐาน 25 จังหวัด ในภาคเหนือ-อีสาน-กลางสภาพอากาศวันนี้ไทยตอนบนมีอากาศร้อนและร้อนจัดบางแห่งอัพเดท 3-6 เม.ย."พายุฤดูร้อน" ไทยตอนบนรับมือฝน-ลูกเห็บตก-ฟ้าผ่ากรมอุตุนิยมวิทยา เตือนฉบับที่ 1 ระวัง"พายุฤดูร้อน" 3 - 6 เม.ย.นี้
1 เมษายน 2564