งานจัดการพลังงาน กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
Energy management

      

       นายธีระชัย ตันเรืองพร
ผู้อำนวยการกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
        ภารกิจผู้อำนวยการ       

        

    นายเสกสรรค์ ขวัญศรีวงค์
    หัวหน้างานจัดการพลังงน
        ภารกิจหัวหน้างาน   

  ทะเบียนการออกเลขที่หนังสือ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม

ตำแน่งที่ตั้ง มิเตอร์ไฟฟ้า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (115KV) สถานีไฟฟ้าย่อย หมายเลขมิเตอร์ PEA 27669524คณะผลิตกรรมการเกษตรแม่โจ้ (คณะสัตว์ศาสตร์) หมายเลขมิเตอร์ PEA 23055970มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (วิทยาลัยพลังงานทดแทน) หมาเลขมิเตอร์ PEA 5900796468โครงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หมายเลขมิเตอร์ PEA 27697649โครงการหลวงพัฒนาบ้านโปงพระราชดำริ (ที่ตั้ง สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย) หมายเลขมิเตอร์ PEA 23062083โครงการพัฒนาบ้านโปง (ที่ตั้ง ฐานเรียนรู้ไม้ฟอกอากาศและโรงสูบน้ำบาดาลประปาภูเขา) หมายเลขมิเตอร์ PEA 24361184โครงการพัฒนาบ้านโปง (ที่ตั้ง แปลงและโรงเรือนปลูกดอกไม้ ) หมายเลขมิเตอร์ PEA 29156214มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (โรงเรือนเพาะพันธุ์กัญชา) ผศ.ดร.ปรีดา นาเทเวศน์ หมายเลขมิเตอร์ PEA 6300410225มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (โรงเพาะพันธุ์กัญชา 2) ศ.ดร.อานัฐ ตันโช หมายเลขมิเตอร์ PEA 6300570899มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (โรงสูบน้ำศรีบุญเรือง) หมายเลขมิเตอร์ PEA 5701543226มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ศูนย์ท่องเที่ยวเกษตรเชิงนิเวศน์) หมายเลขมิเตอร์ PEA 29218279

ข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรม

จานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์ ผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากแสงแดดและน้ำ
วิศวกรจาก EPFL สร้างและทดสอบ "จานปฎิกรณ์แสงอาทิตย์" ที่สามารถผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากแสงแดดและน้ำ พบผลลัพธ์ภายใน 1 ปี จะให้พลังงานแก่รถยนต์ไฟฟ้าพลังเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน 1.5 คัน หรือรองรับการใช้พลังงานไฟฟ้าในครัวเรือนที่มีสมาชิกครอบครัว 4 คนไฮโดรเจน" ถือเป็นอีกหนึ่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งการผลิตไฮโดรเจนให้มีประสิทธิภาพสูงนั้นต้องใช้น้ำเป็นวัตถุดิบหลัก และใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวทำความร้อนที่ทำให้น้ำเดือดและระเหยกลายเป็นก๊าซไฮโดรเจน โดยกระบวนการนี้เรียกว่าการสังเคราะห์ด้วยแสงเทียม ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานของจานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์"จานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์" ผลิตโดยทีมวิศวกรจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส โลซาน หรือ EPFL (École Polytechnique Fédérale de Lausanne) มีลักษณะเหมือนจานดาวเทียม และมีระบบการทำงานที่คล้ายกับต้นไม้เทียม โดยจานปฏิกรณ์นี้มีพื้นผิวโค้งขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการรวบรวมแสงให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นการรวบรวมความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่มีความร้อนประมาณ 800 เท่า ไปยังเครื่องปฏิกรณ์โฟโตอิเล็กโตรเคมีที่แขวนอยู่ตรงกลาง และทำการสูบน้ำเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์นี้ จากนั้นใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการแยกโมเลกุลออกมากลายเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจนจากการทดสอบเป็นเวลากว่า 13 วัน ในวิทยาเขต EPFL พบว่า ประสิทธิภาพการผลิตด้วยจานปฏิกรณ์นั้นใช้น้ำในการผลิตอยู่ที่ 20% จึงทำให้น้ำส่วนที่เหลือจะไม่ได้ถูกแยกเป็นก๊าซแต่จะถูกทำให้ร้อนมากพอสำหรับส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมต่อไป ซึ่งจานปฏิกรณ์สามารถผลิตไฮโดรเจนได้ประมาณ 500 กรัมต่อวันด้วยผลลัพธ์นี้ ภายใน 1 ปี ระบบจะสามารถให้พลังงานแก่รถยนต์ไฟฟ้าพลังเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (FCEV) 1.5 คัน หรือรองรับการใช้พลังงานไฟฟ้าในครัวเรือนที่มีสมาชิกครอบครัว 4 คนนอกจากนี้ จานปฏิกรณ์ยังมีความสามารถในการดักจับของเสีย 2 ชนิดที่ปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิตไฮโดรเจน ได้แก่ ออกซิเจน และความร้อน โดยออกซิเจนจะมีประโยชน์สำหรับใช้ในโรงพยาบาลหรืออุตสาหกรรม ในขณะที่ความร้อนจะถูกส่งผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนและสามารถใช้เพื่อทำน้ำร้อนใช้ภายในอาคารจานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าด้วยไฮโดรเจนได้ถึง 2 กิโลวัตต์ (kW) ซึ่งทำลายสถิติเดิมของการทดลองจานปฏิกรณ์นำร่องที่ผลิตได้ 1 กิโลวัตต์ (kW) ซึ่งอัตราการผลิตไฮโดรเจนที่ทำได้ในครั้งนี้สะท้อนถึงความน่าสนใจในการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป
11 พฤษภาคม 2566
โครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานและสาธิตการใช้พลังงานชีวภาพ (Bioenergy)
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ขอเชิญเข้าร่วม  โครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานและสาธิตการใช้พลังงานชีวภาพ (Bioenergy) จากพืชเศรษฐกิจที่มีการใช้จุลินทรีย์หรือจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมในกระบวนการผลิตเอทานอลและก๊าซชีวภาพ(red flag)สัมมนาชี้แจงโครงการและเผยแพร่ความรู้ จำนวน 5 ครั้ง (5 ภูมิภาค) สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาได้ที่ ?? https://forms.gle/1jnB1MAoTvsgQVtJ7(red flag)รับสมัครโรงงานต้นแบบเข้าร่วมโครงการ (จำนวนจำกัด) สนใจเข้าร่วมเป็นโรงงานต้นแบบ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  https://bit.ly/42ejmozสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณชนิกานต์ ขำประไพ (กานต์)  095 368 8396 คุณธันวรัตน์ ฉัตรศรี (ดาว)  02-129-3959งานสัมมนานี้เป็นการเริ่มต้นโครงการ ทางทีมจะมีโอกาสถ่ายทอดแนวคิดของภาครัฐเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในรูปแบบโครงการนำร่องซึ่งน่าจะนำมาใช้กับไบโอแก็สในทุกอุตสาหกรรม รวมทั้งในงานสัมมนายังได้มีโอกาสทบทวนกันเรื่อง Safetyในระบบก๊าซชีวภาพด้วยครับคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ จากตรงนี้ทางผู้วิจัยจะนำความรู้/ประสบการณ์ของทุกท่านไปพัฒนาคู่มือดูแลระบบก๊าซชีวภาพให้ดียิ่งขึ้นด้วยครับ เอกสารและะผลงานวิจัยของโครงการน่าจะมีประโยชน์กลับผู้สนใจพัฒนาโครงการก๊าซชีวภาพต่อไป
11 พฤษภาคม 2566
งานสหกิจศึกษา วันที่ 24-25 พ.ย. 2564 ให้ความรู้และสอนงานนักศึกษาสหกิจเรื่องการตรวจสอบและนำนักศึกษาดำการจดบันทึกมิเตอร์ไฟฟ้า มิเตอร์น้ำประปา อาคารที่ทำการ บ้านพัก ร้านค้าผู้ประกอบการภายในมหาวิทยาลัยทั้งหมด เพื่อจัดทำรายงานและวิเคราะห์สถิติกการใช้ไฟฟ้า และน้ำประปาของมหาวิทยาลัยประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
งานสหกิจศึกษา วันที่ 24-25 พ.ย. 2564 ให้ความรู้และสอนงานนักศึกษาสหกิจเรื่องการตรวจสอบและนำนักศึกษาดำการจดบันทึกมิเตอร์ไฟฟ้า มิเตอร์น้ำประปา อาคารที่ทำการ บ้านพัก ร้านค้าผู้ประกอบการภายในมหาวิทยาลัยทั้งหมด เพื่อจัดทำรายงานและวิเคราะห์สถิติกการใช้ไฟฟ้า และน้ำประปาของมหาวิทยาลัยประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
25 พฤศจิกายน 2564
แนะวิธีติด "หลังคาโซลาร์เซลล์" ดูยังไง แบบไหนคุ้ม ?
แนะวิธีติด "หลังคาโซลาร์เซลล์" ดูยังไง แบบไหนคุ้ม ? ทันข่าวพลังงาน โซลาร์เซลล์ solarcell Highlightกระแสรักษ์โลกที่ผู้คนหันมาสนใจเรื่องพลังงานสะอาด จนหลายๆ บ้านเริ่มมีการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์กันแพร่หลายมากกว่าเมื่อก่อน แต่การติดตั้ง "หลังคาโซลาร์เซลล์" นั้น นอกจากเรื่องความปลอดภัย การใช้งานแล้ว เรื่องของความคุ้มค่าก็เป็นประเด็นสำคัญในการตัดสินใจของหลายๆ คน แต่ก่อนอื่น ทันข่าวToday อยากจะมาทบทวนเรื่องระบบโซลาร์เซลล์ กันสักนิดว่ามีกี่แบบ  3 ระบบโซลาร์เซลล์ ที่เราควรรู้จักก่อน 1. ระบบออนกริด (On-Grid System) ที่ติดตั้งร่วมกับไฟจากการไฟฟ้านั้น มีจุดประสงค์เพื่อช่วยทุ่นค่าไฟในช่วงเวลากลางวัน จึงใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เพราะนั่นก็เท่ากับกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากโซลาร์เซลล์ก็คือหน่วยพลังงานสำหรับขับเคลื่อนกระแสไฟฟ้าภายในบ้านตามปกติ โดยมีอินเวอร์เตอร์ทำหน้าที่สลับระหว่างกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์กับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้ากรณีจากโซลาร์เซลล์ไม่เพียงพอกับการใช้งาน เช่นในช่วงกลางคืน หรือกลางวันแต่พลังงานแสงไม่เพียงพอ ถือเป็นระบบที่หลายบ้านนิยมติดตั้งกัน เพราะสามารถขายคืนให้การไฟฟ้าฯ ได้ แต่ก่อนติดตั้งต้องขออนุญาตก่อนเสมอ 2. ระบบไฮบริด (Hybrid) ข้อแตกต่างระบบนี้อยู่ที่มีแบตเตอรี่มาสำรองพลังงาน สำหรับใช้งานในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ และกรณีที่ผลิตกระแสไฟฟ้ามากพอเกินกว่าการใช้งานแล้ว ระบบจะนำกระแสไฟฟ้าชาร์ตเข้าแบตเตอรี่ เพื่อนำไปใช้งานต่อในเวลาอื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อบ้านไหนที่ไฟตกบ่อยก็สามารถดึงเอาไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาใช้งาน 3. ระบบออฟกริด (Off-Grid System) ข้อแตกต่างอยู่ตรงไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การติดตั้งจะไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อน  เหมาะกับการใช้งานโดยตรงจากแผงสู่อุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆ เช่น แสงสว่าง หรือปั๊มน้ำ ในอดีตจึงเหมาะกับพื้นที่ห่างไกลที่ต้องสำรองไฟสำหรับใช้ในเวลาจำเป็น หรือสำหรับงานภายนอกบ้านที่ไม่เกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าหลักภายในบ้าน ?? ก่อนติดตั้ง ต้องรู้จัก 5 อุปกรณ์หลักที่ใช้งาน  1. ตัวแผงโซลาร์เซลล์ 2. เครื่องอินเวอร์เตอร์ ที่แปลงจากกระแสไฟฟ้าตรงให้เป็นกระแสไฟฟ้าสลับสำหรับการใช้งานภายใน บ้าน 3. แบตเตอรี่ (Battery) อุปกรณ์สำหรับเก็บไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ 4. เครื่องควบคุมการชาร์จไฟ (Solar control charger) ทำหน้าที่คุมแรงดันและกระแสไฟฟ้าที่เข้าสู่แบตเตอรี่ในปริมาณที่เหมาะสม  5. อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร (Over Current Protection & Accessaries) และสิ่งที่สำคัญที่ลืมไม่ได้ คือ โครงสร้างหลังคา โดยส่วนของหลังคาที่สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้นั้น จะต้องเป็นพื้นที่รับแดดตลอดทั้งวัน สำหรับประเทศไทยคือทางทิศใต้ ดูระนาบและองศาของการติดตั้ง ซึ่งเหมาะสมที่สุดควรเอียงทำมุมที่ 15 องศา รวมทั้งเรื่องสำคัญโครงสร้างหลังคาแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ได้ทั้งระบบ ?? ติดตั้งเท่าไหร่ถึงจะคุ้มทุน ใครๆ ก็พูดว่าระยะยาวคุ้มทุน แล้วก็ขายไฟคืนให้รัฐได้ด้วย แต่อย่าลืมว่าเราต้องลงทุนก่อนเป็นสิ่งแรก ซึ่งเราก็ควรนึกถึงการใช้ไฟฟ้าในบ้านของเราก่อนว่าควรติดตั้งเท่าไหร่ดีจึงจะพอดีกับการใช้งานในครัวเรือน มาเริ่มต้นคำนวณค่าไฟกันก่อน ทางนี้  1. คำนวณจากหน่วยไฟฟ้าเป็น "กิโลวัตต์"  ซึ่งขนาดแผงโซลาร์เซลล์ สมมติว่า "1 แผง มีขนาดเท่ากับ 120*60 เซนติเมตร มีพื้นที่เท่ากับ 0.72 ตร.ม. มีกำลังผลิตแผงละ 102 วัตต์" ดังนั้นหากต้องการผลิตให้ได้ 1 กิโลวัตต์ ต้องใช้ 10 แผงในการติดตั้ง กินพื้นที่บนหลังคาเท่ากับ 7.2 ตร.ม. 2. จากนั้นมาดูปริมาณการใช้งานไฟฟ้าในแต่ละเดือนของเราว่าใช้เดือนละกี่หน่วย (KW-h) สมมติ ถ้าใช้เดือนละ 2,000 หน่วย (เสียค่าไฟฟ้าประมาณเดือน 10,000 บาท) ให้จดเลขมิเตอร์ 2 ครั้งใน 1 วัน ในช่วงเช้าเวลาประมาณ 9.00 น. และเย็น 17.00 น. ทั้งหมด 4 วัน แล้วนำมาลบกันก็จะได้ค่าจำนวนหน่วยที่ใช้ในเวลากลางวัน  จากนั้นนำหน่วยทั้งหมดที่ได้มาหาร 4 ยกตัวอย่างเช่น 55+40+50+45 = 190/4 เฉลี่ยแล้วใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันประมาณ 47.5 หน่วย 3. ใน 1 วันมีแสงอาทิตย์ประมาณ 5 ชม.  เราก็ต้องนำ 47.5 หน่วย หาร 5 ได้เท่ากับ 9.5 กิโลวัตต์ ดังนั้นการติดตั้งโซลาร์เซลล์ประมาณ 10 กิโลวัตต์จึงจะเหมาะสมและคุ้มทุนที่สุด โดยจำนวนแผงที่จะติดตั้งต้องดูตามปริมาณวัตต์ต่อ 1 แผง อายุการใช้งานของระบบประมาณ 20-25 ปี ลองเคาะตัวเลขกันดู ว่าจุดคุ้มทุนเรามากน้อยแค่ไหน ข้อมูลอ้างอิง  การไฟฟ้านครหลวง  สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1129y
30 มีนาคม 2564
โครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานและสาธิตการใช้พลังงานชีวภาพ (Bioenergy)
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ขอเชิญเข้าร่วม  โครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานและสาธิตการใช้พลังงานชีวภาพ (Bioenergy) จากพืชเศรษฐกิจที่มีการใช้จุลินทรีย์หรือจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมในกระบวนการผลิตเอทานอลและก๊าซชีวภาพ(red flag)สัมมนาชี้แจงโครงการและเผยแพร่ความรู้ จำนวน 5 ครั้ง (5 ภูมิภาค) สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาได้ที่ ?? https://forms.gle/1jnB1MAoTvsgQVtJ7(red flag)รับสมัครโรงงานต้นแบบเข้าร่วมโครงการ (จำนวนจำกัด) สนใจเข้าร่วมเป็นโรงงานต้นแบบ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  https://bit.ly/42ejmozสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณชนิกานต์ ขำประไพ (กานต์)  095 368 8396 คุณธันวรัตน์ ฉัตรศรี (ดาว)  02-129-3959งานสัมมนานี้เป็นการเริ่มต้นโครงการ ทางทีมจะมีโอกาสถ่ายทอดแนวคิดของภาครัฐเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในรูปแบบโครงการนำร่องซึ่งน่าจะนำมาใช้กับไบโอแก็สในทุกอุตสาหกรรม รวมทั้งในงานสัมมนายังได้มีโอกาสทบทวนกันเรื่อง Safetyในระบบก๊าซชีวภาพด้วยครับคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ จากตรงนี้ทางผู้วิจัยจะนำความรู้/ประสบการณ์ของทุกท่านไปพัฒนาคู่มือดูแลระบบก๊าซชีวภาพให้ดียิ่งขึ้นด้วยครับ เอกสารและะผลงานวิจัยของโครงการน่าจะมีประโยชน์กลับผู้สนใจพัฒนาโครงการก๊าซชีวภาพต่อไป
11 พฤษภาคม 2566
กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนฉบับที่ 2 ระวัง"พายุฤดูร้อน-ลูกเห็บตก-ฟ้าผ่า" 3 - 6 เม.ย.
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับที่ 2 พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ระวังพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นด้วย มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3 - 6 เมษายน 2564 วันที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 11.00 น. นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 1 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3 - 6 เมษายน 2564) ข้อความว่า ในช่วงวันที่ 3 - 6 เมษายน 2564 ประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นด้วย กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนฉบับที่ 2 ระวัง"พายุฤดูร้อน-ลูกเห็บตก-ฟ้าผ่า" 3 - 6 เม.ย. กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับที่ 2 พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ระวังพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นด้วย มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3 - 6 เมษายน 2564 วันที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 11.00 น. นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 1 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3 - 6 เมษายน 2564) ข้อความว่า ในช่วงวันที่ 3 - 6 เมษายน 2564 ประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นด้วย โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไปจึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วยทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดต่อเนื่องกันหลายวันประชาชนสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 11.00 น.ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยาข่าวที่เกี่ยวข้องข่าวที่เกี่ยวข้อง:คุณภาพอากาศ ภาคเหนือเช้านี้ จมฝุ่น PM 2.5กรุงเทพฯค่อนข้างดีเกือบทุกพื้นที่ ค่าฝุ่น PM 2.5 เช้านี้ พบเกินค่ามาตรฐาน 25 จังหวัด ในภาคเหนือ-อีสาน-กลางสภาพอากาศวันนี้ไทยตอนบนมีอากาศร้อนและร้อนจัดบางแห่งอัพเดท 3-6 เม.ย."พายุฤดูร้อน" ไทยตอนบนรับมือฝน-ลูกเห็บตก-ฟ้าผ่ากรมอุตุนิยมวิทยา เตือนฉบับที่ 1 ระวัง"พายุฤดูร้อน" 3 - 6 เม.ย.นี้
1 เมษายน 2564
ข้อมูลการใช้พลังงานและทรัพยากร
ปริมาณการใช้ไฟฟ้า

หมวดที่ 3 การใช้พลังงานและทรัพยากร

ปริมาณการใช้น้ำ

หมวดที่ 3 การใช้พลังงานและทรัพยากร

ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง

หมวดที่ 3 การใช้พลังงานและทรัพยากร

ปริมาณการใช้กระดาษ

หมวดที่ 3 การใช้พลังงานและทรัพยากร

ปริมาณการใช้หมึกพิมพ์และวัสดุสำนักงาน

หมวดที่ 3 การใช้พลังงานและทรัพยากร