งานจัดการพลังงาน กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
Energy management

เลือกม่านให้เหมาะกับบ้าน ประหยัดพลังงานไปในตัว การเลือกผ้าม่านที่ดีและเหมาะกับบ้านนั้น นอกจากช่วยให้บ้านของท่านดูสวยขึ้นแล้ว ยังสามารถลดการใช้พลังงานได้อีกด้วย แต่จะเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับบ้านของเรา และม่านแบบไหนจะช่วยประหยัดพลังงาน พร้อมทั้งลดค่าไฟ ไปในตัวได้อีก วันนี้ กระทรวงพลังงาน ขอแนะนำการเลือกผ้าม่าน 4 ประเภท ดังนี้ 1. ม่านแขวน ม่านแขวนคือผ้าม่านยาว ๆ ที่แขวนตะขอหรือเจาะห่วง ห้อยไว้กับรางแขวน ม่านแขวนเป็นผ้าม่านที่เข้ากันได้ดีกับทุกสภาพอากาศ เพราะม่านประเภทนี้เปรียบเสมือนผ้าห่มช่วยกันหนาวเมื่อลมเย็น ๆ มาเยือน ในทางตรงกันข้ามยังเป็นเหมือนอุปกรณ์กันแดดชั้นดีเมื่อเข้าสู่หน้าร้อน และยังทำให้บรรยากาศภายในบ้านดูอบอุ่น และสวยงามด้วยแสงแดดอ่อน ๆ ที่ลอดผ่านเนื้อผ้าเข้ามา 2. ม่านบังแดด ม่านที่ประกอบด้วยผ้าเนื้อนิ่ม เปิด-ปิดด้วยการพับขึ้น-ลงหรือดึงเข้า-ออกทางด้านข้างก็ได้ คุณสมบัติเด่นของม่านประเภทนี้ก็คือสะท้อนความร้อนและแสงได้ดี นอกจากนี้ยังเป็นม่านที่ติดตั้งและทำความสะอาดได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยให้บรรยากาศโดยรวมดูสวยทันสมัยอีกด้วย 3. ม่านฮันนีคอมบ์ ม่านนี้มีจุดเด่นในเรื่องการช่วยประหยัดพลังงาน เพราะช่วยรักษาอุณหภูมิภายในให้อบอุ่นในช่วงหน้าหนาว และสามารถกักเก็บความเย็นได้เมื่อเข้าสู่หน้าร้อน ตัวม่านจะช่วยกรองรังสีและความร้อนให้ก่อนที่แสงจะเข้ามาในบ้าน จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับบ้านที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิในบ้านให้เหมาะสม โดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยอย่างเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำความร้อน 4. มู่ลี่ มู่ลี่มีทั้งชนิดที่เป็นไม้และพลาสติก มีตั้งแบบแนวตั้งและแนวนอนเพื่อปรับให้เข้ากับสภาพอากาศที่หลากหลาย แต่เนื่องจากไม่มีส่วนประกอบที่เป็นฉนวน ดังนั้นจึงอาจช่วยกันได้แค่แสง แต่ไม่สามารถกันความร้อนหรือความเย็นจากภายนอกอาคารได้มากนัก หากรู้แบบนี้แล้วใครที่ไม่อยากจ่ายค่าไฟแพง ๆ ตอนสิ้นเดือน ก็ควรเลือกประเภทของม่านให้เหมาะกับบ้าน การทำให้อุณหภูมิในห้องไม่สูงเกิน ก็จะช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลง และหากให้มีแสงเข้าบ้านปริมาณที่เหมาะสม ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟในช่วงกลางวัน การเลือกม่านที่เหมาะกับบ้านก็ประหยัดไฟได้ 2 ต่อเลยนะครับ #เลือกม่านให้เหมาะกับบ้าน #เทคนิคจัดบ้านประหยัดพลังงาน #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN

ปรับปรุงข้อมูล : 5/4/2564 15:13:42     ที่มา : งานจัดการพลังงาน กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 722

กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด