งานจัดการพลังงาน กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
Energy management
จานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์ ผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากแสงแดดและน้ำ
วิศวกรจาก EPFL สร้างและทดสอบ "จานปฎิกรณ์แสงอาทิตย์" ที่สามารถผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากแสงแดดและน้ำ พบผลลัพธ์ภายใน 1 ปี จะให้พลังงานแก่รถยนต์ไฟฟ้าพลังเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน 1.5 คัน หรือรองรับการใช้พลังงานไฟฟ้าในครัวเรือนที่มีสมาชิกครอบครัว 4 คนไฮโดรเจน" ถือเป็นอีกหนึ่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งการผลิตไฮโดรเจนให้มีประสิทธิภาพสูงนั้นต้องใช้น้ำเป็นวัตถุดิบหลัก และใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวทำความร้อนที่ทำให้น้ำเดือดและระเหยกลายเป็นก๊าซไฮโดรเจน โดยกระบวนการนี้เรียกว่าการสังเคราะห์ด้วยแสงเทียม ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานของจานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์"จานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์" ผลิตโดยทีมวิศวกรจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส โลซาน หรือ EPFL (École Polytechnique Fédérale de Lausanne) มีลักษณะเหมือนจานดาวเทียม และมีระบบการทำงานที่คล้ายกับต้นไม้เทียม โดยจานปฏิกรณ์นี้มีพื้นผิวโค้งขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการรวบรวมแสงให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นการรวบรวมความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่มีความร้อนประมาณ 800 เท่า ไปยังเครื่องปฏิกรณ์โฟโตอิเล็กโตรเคมีที่แขวนอยู่ตรงกลาง และทำการสูบน้ำเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์นี้ จากนั้นใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการแยกโมเลกุลออกมากลายเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจนจากการทดสอบเป็นเวลากว่า 13 วัน ในวิทยาเขต EPFL พบว่า ประสิทธิภาพการผลิตด้วยจานปฏิกรณ์นั้นใช้น้ำในการผลิตอยู่ที่ 20% จึงทำให้น้ำส่วนที่เหลือจะไม่ได้ถูกแยกเป็นก๊าซแต่จะถูกทำให้ร้อนมากพอสำหรับส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมต่อไป ซึ่งจานปฏิกรณ์สามารถผลิตไฮโดรเจนได้ประมาณ 500 กรัมต่อวันด้วยผลลัพธ์นี้ ภายใน 1 ปี ระบบจะสามารถให้พลังงานแก่รถยนต์ไฟฟ้าพลังเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (FCEV) 1.5 คัน หรือรองรับการใช้พลังงานไฟฟ้าในครัวเรือนที่มีสมาชิกครอบครัว 4 คนนอกจากนี้ จานปฏิกรณ์ยังมีความสามารถในการดักจับของเสีย 2 ชนิดที่ปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิตไฮโดรเจน ได้แก่ ออกซิเจน และความร้อน โดยออกซิเจนจะมีประโยชน์สำหรับใช้ในโรงพยาบาลหรืออุตสาหกรรม ในขณะที่ความร้อนจะถูกส่งผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนและสามารถใช้เพื่อทำน้ำร้อนใช้ภายในอาคารจานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าด้วยไฮโดรเจนได้ถึง 2 กิโลวัตต์ (kW) ซึ่งทำลายสถิติเดิมของการทดลองจานปฏิกรณ์นำร่องที่ผลิตได้ 1 กิโลวัตต์ (kW) ซึ่งอัตราการผลิตไฮโดรเจนที่ทำได้ในครั้งนี้สะท้อนถึงความน่าสนใจในการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป
11 พฤษภาคม 2566     |      416
‘ทานหรือใช้สินค้าออร์แกนิก’ ไอเดียใหม่ ใช้ชีวิต ‘Energy style’ ประหยัดพลังงาน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
‘ทานหรือใช้สินค้าออร์แกนิก’ ไอเดียใหม่ ใช้ชีวิต ‘Energy style’ ประหยัดพลังงาน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม 3 เทคนิค “Energy style” ที่จะช่วยให้คุณประหยัดพลังงาน ไปพร้อมๆกับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม ? ลดทานเนื้อ สนับสนุนพืชออร์แกนิก มีการคาดการณ์ว่า การปศุสัตว์ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกแก่โลกสูงถึง 14.5-18% และอาจจะมากไปถึง 51% โดยมาจากพลังงานที่ใช้ในการผลิตสร้างอาหารให้กับสัตว์จำนวนมาก ซึ่งหากเราลดการกินเนื้อลง และเปลี่ยนไปเป็น กินพืชแทน จะช่วยลดการสูญเสียพลังงาน และนอกจากนั้น ควรเลือกกินผักออร์แกนิก เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีด้วย ? ถุงผ้า ถุงที่ใช้ซ้ำได้ นำกลับมาใช้ใหม่ ขยะที่ทับถมกันเป็นจำนวนมากจะปล่อยก๊าซมีเทนออกมาอย่างมากมาย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้อากาศเสีย ดังนั้น การลดขยะด้วยการใช้ถุงผ้าหรือถุงที่ใช้ซ้ำได้ หรือยังมีคุณภาพดี กลับมาใช้ใหม่จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย ? เลือกใช้ของที่ย่อยสลายได้ง่าย เราควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารที่ทำจากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่าย หรือเลือกสินค้าที่ไม่ต้องใช้หีบห่อ ถุงหุ้มมากมาย เพื่อลดการผลิตพลาสติกจากโรงงานอุตสาหกรรม การปรับตัวในรูปแบบของ Energy style เป็นสิ่งง่าย ๆ ที่เราสามารถปรับตัวได้ ขอเพียงเราทุกคนช่วยกันรับผิดชอบสังคม ร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า เพื่อให้มีพลังงานใช้อย่างยั่งยืน #ทานหรือใช้สินค้าออร์แกนิก #ประหยัดพลังงาน #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN
7 กรกฎาคม 2564     |      473
คาดเสนอแผนลงทุน โรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่อง 8-9 ให้ ครม.อนุมัติได้ปลายปีนี้
กฟผ.คาดเสนอแผนลงทุน โรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 ขนาด 600 เมกะวัตต์ มูลค่าประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท ให้ ครม.พิจารณาได้ปลายปี 2564 นี้ โดยตามแนวทางของ?แผนพลังงานแห่ง?ชาติ?ถูกระบุว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นในประเทศ แหล่งข่าวกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ถึงแม้ว่าแนวทางจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan) ที่ให้ความสำคัญกับการกำหนดเป้าหมายในการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutral) และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero) โดยเน้นไปที่การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น โดยจะส่งผลให้โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหิน ที่เป็นโรงไฟฟ้าสร้างใหม่ในอนาคตจะไม่เกิดขึ้นอีกในประเทศนั้น แต่ความจำเป็นที่ต้องมีการอนุมัติให้สร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 (MMRP2) ขนาดกำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ. ) ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งจะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงสุดท้ายที่ภาครัฐยังมีการรับซื้อเข้าระบบ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ( PDP 2018 Rev.1 ) ที่มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ ( COD ) ในปี 2569 เนื่องจากเป็นการใช้ทรัพยากรถ่านหินลิกไนต์ที่มีอยู่ในประเทศ ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ และเป็นการเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าในภาคเหนือ ทั้งนี้ปัจจุบัน แม่เมาะมีปริมาณสำรองถ่านหินลิกไนต์ประมาณ 300-400 ล้านตัน และมีการใช้อยู่ที่ 16 ล้านตันต่อปี แต่ในอนาคตหากโรงไฟฟ้าแม่เมาะทยอยหมดอายุลงจะทำให้ปริมาณการใช้ถ่านหินลดลง 50% หลังปี 2570 เป็นต้นไป โดย กฟผ.ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการดังกล่าว เสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างนำเสนอสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. และ สํานักงบประมาณ กระทรวงการคลัง เพื่อให้ความเห็นในประเด็นต่างๆ และคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนได้ภายในปี 2564 นี้ แหล่งข่าวการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระบุว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ ทดแทนยูนิตที่ 8-9 หรือ Mae Mo Replacement 2 ที่หมดอายุในปี 2563 และจะมีการจัดตั้งโรงไฟฟ้าใหม่ในพื้นที่เดิม เบื้องต้น คาดว่า จะใช้เงินลงทุนใกล้เคียงกับโครงการแม่เมาะที่สร้างทดแทน ยูนิตที่ 4-7 ขนาด 650 เมกะวัตต์ มูลค่าลงทุน 3.5 หมื่นล้านบาท จะใช้ระยะเวลาก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนประมาณ 3 ปี โดยกำลังผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ภาคเหนือในปัจจุบันมีเกินกว่าความต้องการใช้เล็กน้อย จึงสามารถส่งกำลังผลิตที่เหลือไปป้อนความต้องการใช้ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ แต่ในปี 2570 ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ยูนิตที่ 10-13 จะหมดอายุลงจะทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ภาคเหนือหายไป 1,200 เมกะวัตต์ จากที่มีอยู่ 2,400 เมกะวัตต์ ซึ่งหากไม่มีการสร้างโรงไฟฟ้ามาทดแทนกำลังการผลิตดังกล่าว จะทำให้พื้นที่ภาคเหนือ ก็ต้องเปลี่ยนมารับไฟฟ้าผ่านสายส่งจากภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปทดแทนเพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในพื้นที่ ที่มา : https://www.energynewscenter.com/
25 มิถุนายน 2564     |      574
4 นวัตกรรมแห่งอนาคต ช่วยลดขยะล้นเมือง
4 นวัตกรรมแห่งอนาคต ช่วยลดขยะล้นเมือง ปัญหาขยะพลาสติกล้นเมือง ยังคงเป็นปัญหาที่หลายๆ ประเทศต้องเผชิญ สำหรับประเทศไทยแล้ว มีการรณรงค์ในการช่วยกันปริมาณการใช้พลาสติก ซึ่งก็ถือว่า ได้รับความร่วมมือจากทั้งภาคเอกชน ผู้ประกอบการต่าง ๆ ในการลดใช้ถุงใส่ของ รวมทั้งภาคประชาชน ที่หันมานิยมใช้ถุงผ้ากันเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาขยะพลาสติก ก็ยังคงสร้างปัญหาอยู่ในหลายพื้นที่ วันนี้ กระทรวงพลังงาน ได้นำสาระดี ๆ ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการบริหารจัดการขยะพลาสติก มาบอกเล่าให้เป็นความรู้กันถึง 4 รูปแบบ ได้แก่ 1.นวัตกรรมอัพไซคลิ่ง (Upcycling) นวัตกรรมอัพไซคลิ่ง คือ การนำขยะมาแปรรูปให้กลายเป็นสิ่งใหม่ ผ่านกระบวนการรีไซเคิล ที่ช่วยและจัดการแก้ปัญหาพลาสติก โดยไม่สร้างขยะกลับคืนสู่วงจรขยะพลาสติกอีกครั้ง แถมยังได้สร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกด้วย 2.พลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ (Bioplastic) พลาสติกชนิดนี้สามารถย่อยสลายได้เองด้วยจุลินทรีย์ และแบคทีเรียตามธรรมชาติ โดยผลิตจากวัตถุดิบที่ทดแทนขึ้นใหม่ได้ในธรรมชาติ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ฯลฯ 3.นวัตกรรมเพื่อการจัดการไมโครพลาสติก (Microplastic) เนื่องจากไมโครพลาสติกถือเป็นพลาสติกขนาดเล็กและมองไม่เห็น ซึ่งมักจะปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ทะเล จึงได้มีการคิดค้น จัดหาวัสดุทดแทน หรือมีกระบวนการจัดการที่รัดกุม เพื่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่ดีขึ้นทั้งระบบ 4.การเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นพลังงาน กระบวนการนี้เป็นไปเพื่อลดต้นทุนการผลิตพลังงาน และสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยนำขยะพลาสติกที่มีอยู่จำนวนมหาศาล มาแปรรูปเป็นพลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ๆ เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้ นวัตกรรมเหล่านี้ เริ่มเข้ามามีบทบาททั้งในปัจจุบันและจะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต มันจะช่วยให้ขยะต่าง ๆ ถูกจัดการได้อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ขยะมีปริมาณลดลง ที่สำคัญเมืองของเราก็จะน่าอยู่มากขึ้นด้วยครับ ที่มา : สำนักข่าว BLT BANGKOK (https://www.bltbangkok.com/lifestyle/urban-living/12109/) #4นวัตกรรมแห่งอนาคตที่จะช่วยลดขยะล้นเมืองได้ #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN
17 มิถุนายน 2564     |      17696
ตรวจสอบให้ดี ! ปลั๊กพ่วงที่ไม่พร้อมใช้งาน อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
ตรวจสอบให้ดี ! ปลั๊กพ่วงที่ไม่พร้อมใช้งาน อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ จากที่มีข่าวเกี่ยวกับเหตุเพลิงไหม้ ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากปลั๊กพ่วงที่ไม่พร้อมใช้งานหรือเสื่อมสภาพ ซึ่งเราอาจไม่ทันสังเกตเห็น วันนี้ กระทรวงพลังงาน ขอแนะนำให้ตรวจสอบปลั๊กพ่วง ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ และต้องหมั่นดูแลรักษาให้ปลอดภัย มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย 1. สายไฟต้องไม่มีรอยฉีกขาด บิดเบี้ยว ตัวอุปกรณ์ต้องไม่แตกหัก ร้าว 2. ไม่นำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟเยอะ เช่น เตารีด สว่าน มาใช้กับปลั๊กพ่วง และควรถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังใช้งาน แล้วทุกครั้ง 3.เลือกใช้ปลั๊กพ่วงที่ได้มาตรฐาน มีสัญลักษณ์เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) 2432-2555 หรือ มอก.ปลั๊กพ่วง ที่ชัดเจน 4.หมั่นตรวจสอบและทำความสะอาดปลั๊กพ่วงอยู่เสมอ ไม่ควรปล่อยให้เก่าชำรุดหรือมีรอยไหม้ เราควรหมั่นคอยตรวจสอบและปลูกฝังให้ความรู้กับคนในครอบครัวเกี่ยวกับการใช้งานปลั๊กพ่วงอย่างถูกวิธี และฝึกสังเกตเพื่อให้ปลั๊กพ่วงมีความพร้อมในการใช้งานและใช้ได้อย่างปลอดภัย อ่านจบแล้วเราไปเริ่มตรวจสอบปลั๊กพ่วงภายในบ้านกันได้เลยนะครับ #ตรวจสอบอุปกรณ์ในบ้านที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ #ประหยัดพลังงาน #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN
7 พฤษภาคม 2564     |      631
เปิดข้อดี 'ยานยนต์ไฟฟ้า' (EV) หนึ่งทางเลือกสำหรับคนยุคใหม่
เปิดข้อดี 'ยานยนต์ไฟฟ้า' (EV) หนึ่งทางเลือกสำหรับคนยุคใหม่ โลกของพลังงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จากการใช้น้ำมันก็ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งกระทรวงพลังงาน ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มทางเลือกในการใช้พลังงาน ลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มาจากฟอสซิล และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตามแผนอนุรักษ์พลังงาน จึงได้ส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV (Electric Vehicle) ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า เรามาทำความรู้จักกับ ‘ยานยนต์ยนต์ไฟฟ้า’ กัน เพื่อจะได้เข้าใจถูกว่ารถ EV นั้นเจ๋งแค่ไหน • ลดมลพิษในอากาศ เพราะรถ EV ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 100% ไม่มีการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ไม่ทำให้เกิดควัน ไม่เกิดไอเสียและมลภาวะทางอากาศ ที่นำไปสู่ภาวะโลกร้อน ตอบโจทย์กับคนยุคใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม • ลดค่าใช้จ่ายจากการเติมน้ำมัน เชื้อเพลิงที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูงและผันผวน แต่เมื่อเทียบอัตราการใช้งานกับรถ EV นั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก สำหรับรถ EV นั้นอัตราการชาร์จไฟที่ดูเหมือนจะถูกลง แต่การใช้น้ำมันกลับสูงขึ้นเรื่อย ๆ • ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุง รถ EV มีชิ้นส่วนกลไกในการขับเคลื่อนน้อยกว่ารถน้ำมัน ทำให้ค่าซ่อมบำรุงนั้นมีราคาที่ถูกกว่า • ความเงียบของเครื่องยนต์ รถ EV ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่สู่มอเตอร์เพื่อทำการขับเคลื่อน โดยที่ไม่ได้ใช้เครื่องยนต์สันดาป ภายในจึงไม่ก่อให้เกิดการเผาไหม้ ทำให้เสียงของการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้านั้นเงียบกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหลายเท่า เพราะด้วยข้อดีเหล่านี้ ในหลายๆประเทศ ก็ต่างสนับสนุนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นในประเทศสหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ จีน เยอรมนี หรือ อังกฤษ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าและพยายามที่จะผลักดันนโยบายให้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ากลายเป็นรถยนต์แห่งอนาคตที่ทั้งโลกจะหันมาใช้ และสำหรับประเทศไทยนั้นก็มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อยู่บ้างแล้ว เช่น การติดตั้งจุดชาร์จไฟสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า การออกนโยบายและมาตรการเพื่ิอเอื้อให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามายิ่งขึ้น เป็นต้น #ยานยนต์ไฟฟ้า #EV #ประหยัดพลังงาน #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN
3 พฤษภาคม 2564     |      876
Work From Home "ประหยัดพลังงาน “ วิธีใดที่ใช่คุณ ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย หลายๆท่านต้องกลับมา Work from home กันอีกครั้ง
????Work From Home "ประหยัดพลังงาน “ วิธีใดที่ใช่คุณ ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย หลายๆท่านต้องกลับมา Work from home กันอีกครั้ง วันนี้ กระทรวงพลังงาน จึงอยากเชิญทุกท่านร่วมสนุก ด้วยการแสดงความรู้สึก (Reaction) ผ่าน Game on Facebook ของกระทรวงพลังงาน Work From Home “ ประหยัดพลังงาน “ วิธีใดที่ใช่คุณ ด้วยการแชร์โพสต์นี้เป็นสาธารณะพร้อมแบ่งปันวิธีประหยัดพลังงานเมื่อทำงานที่บ้าน Work From Home ในแบบของท่านเอง 3 ข้อ วิธีไหนโดนใจที่สุด รับไปเลย สมุดโน้ตปกหนังจากกระทรวงพลังงาน จำนวน 10 รางวัล ??กติกาการร่วมสนุก 1.กด Like Page Facebook กระทรวงพลังงาน 2.กดเลือกปุ่มแสดงความรู้สึก(Reaction) วิธีประหยัดพลังงาน ที่ท่านชอบ 3.กด Share Post Game เป็นสาธารณะ พร้อมพิมพ์ Caption วิธีการประหยัดพลังงานในขณะทำงานที่บ้านในรูปแบบของท่านมา 3 ข้อ ?? ร่วมสนุกได้ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564 และจะประกาศรายชื่อผู้โชคดี ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 ที่ทางหน้าเพจ Facebook กระทรวงพลังงาน หมายเหตุ -ผู้โชคดีต้องแจ้งที่อยู่สำหรับส่งของรางวัลภายใน 7 วัน หากเกินระยะเวลากำหนด ถือว่าท่านสละสิทธิ์ และจะมอบให้รายชื่อสำรองลำดับต่อไป - คำตัดสินของผู้จัดกิจกรรมถือเป็นที่สิ้นสุด
23 เมษายน 2564     |      441
สัญลักษณ์บนรีโมทแอร์ ดูให้เป็น ได้อากาศเย็น แถมประหยัดค่าไฟ
สัญลักษณ์บนรีโมทแอร์ ดูให้เป็น ได้อากาศเย็น แถมประหยัดค่าไฟ หลายคนใช้เครื่องปรับอากาศหรือแอร์เกือบทุกวัน แต่ทุกท่านรู้ไหมว่าสัญลักษณ์บนรีโมทแอร์มีความหมายว่าอะไร วันนี้ กระทรวงพลังงาน จะมาบอกความหมายของสัญลักษณ์บนรีโมทแอร์ และทริคเล็กๆ ในการเลือก ‘โหมดที่เหมาะสมกับตนเอง’ สำหรับการใช้งานแอร์ที่เย็นฉ่ำ และประหยัดค่าไฟ เพื่อให้ทุกท่านได้นำไปปรับใช้อย่างถูกวิธี จะมีอะไรบ้าง มาดูกันครับ Auto Mode : โหมดนี้สำหรับท่านที่ไม่ต้องการยุ่งยากในการปรับอะไรมาก เพราะมันจะปรับอุณหภูมิและความเร็วของพัดลมโดยอัตโนมัติ และโหมด Auto นี้ มันจะสลับการทำงานไปโหมดอื่นๆ เช่น Dry หรือ Cool ให้ตามสภาพแวดล้อมในห้องเรา เหมาะสำหรับ : บ้านที่ไม่ค่อยมีใครไปยุ่งกับแอร์มากนัก กดปุ่มเปิด/ปิด อย่างเดียว ที่เหลือให้แอร์มันคิดให้ เย็นเหมือนกัน Cool Mode : โหมดนี้จะตั้งค่าได้ทั้งอุณภูมิและความเร็วของพัดลม เมื่อแอร์ทำให้ห้องมีอุณหภูมิถึงจุดที่เราตั้งไว้แล้ว แอร์จะหยุดทำงานครู่หนึ่ง (หรือที่เราเรียกกันว่าแอร์ตัด) เหมาะสำหรับ : ช่วงที่อากาศร้อน หรือตอนที่เราอยากให้ห้องมีอุณภูมิเย็นมากหรือน้อยตามใจเรา Dry Mode : โหมดนี้ทำงานคล้ายกับโหมด Cool แต่จะเพิ่มการลดความชื้นในอากาศ แต่ความเย็นจะลดลงถ้าเทียบกับโหมด Cool ในอุณหภูมิที่เท่ากัน เพราะความชื้นในอากาศนั้นหายไป เหมาะสำหรับ : ห้องที่ต้องการควบคุมความชื้น มีสิ่งของหรืออุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสำหรับอากาศชื้น Fan Mode : โหมดนี้จะทำงานเพียงแค่พัดลม ซึ่งเป็นลมในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่ใช่ลมเย็น เราสามารถตั้งค่าได้เฉพาะความเร็วของพัดลมเท่านั้น เหมาะสำหรับ : ห้องที่ต้องการอากาศหมุนเวียน แต่ไม่ต้องการให้ห้องมีความเย็น หรือเมื่อแอร์มีปัญหากลิ่นอับ โหมดนี้จะช่วยลดความชื้นสะสม และลดกลิ่นอับได้ระดับหนึ่ง การเลือกใช้โหมดต่าง ๆ ให้เหมาะกับการใช้งานจะสามารถประหยัดพลังงานได้ รวมไปถึงค่าไฟในแต่ละเดือนด้วยนะครับ #สัญลักษณ์บนรีโมทแอร์ #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN
7 เมษายน 2564     |      3388
‘จัดวางเฟอร์นิเจอร์ ไม่ขวางทางลม’ เทคนิคการจัดบ้านแบบประหยัดพลังงาน
‘จัดวางเฟอร์นิเจอร์ ไม่ขวางทางลม’ เทคนิคการจัดบ้านแบบประหยัดพลังงาน เฟอร์นิเจอร์ ถือเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ในบ้านได้สะดวกสบายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโซฟา โต๊ะทำงาน เก้าอี้ ชั้นวางของ หรือตู้โชว์ต่างๆ แต่รู้ไหมว่า จัดวางเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่เหมาะสม นอกจากจะทำให้เราใช้งานไม่สะดวกแล้ว อาจจะทำให้เราต้องมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน เช่น ค่าไฟเพิ่มมากขึ้นด้วย วันนี้ กระทรวงพลังงาน จึงมีเทคนิคการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ที่จะช่วยให้เราสามารถประหยัดพลังงานได้มากขึ้น ดังนี้ • จัดวางโต๊ะทำงานใกล้หน้าต่าง เพื่อใช้แสงสว่างจากภายนอกโดยที่ไม่ต้องเปิดไฟ • ติดม่านที่ปรับระดับให้แสงเข้าได้ เพื่อไม่ให้แสงและความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านมากเกินไป • จัดวางเฟอร์นิเจอร์ โซฟา หรือตู้โชว์ ไม่ขวางทางลม • ติดเครื่องปรับอากาศที่มีจำนวน BTU เหมาะสมกับขนาดห้องและติดตั้งในจุดที่สามารถกระจายลมได้ทั่วถึง ด้วยเทคนิคที่แนะนำนี้ คุณก็จะสามารถเป็นอีกหนึ่งคนที่ช่วยประเทศชาติประหยัดพลังงาน แต่เหนือประโยชน์อื่นใดคือ คุณได้ช่วยเซฟกระเป๋าเงินตัวเองไม่ให้รั่วไหลไปกับค่าไฟในแต่ละเดือนอย่างแน่นอน #จัดวางเฟอร์นิเจอร์ไม่ขวางทางลม #เทคนิคจัดบ้านประหยัดพลังงาน #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN
5 เมษายน 2564     |      415
เลือกม่านให้เหมาะกับบ้าน ประหยัดพลังงานไปในตัว
เลือกม่านให้เหมาะกับบ้าน ประหยัดพลังงานไปในตัว การเลือกผ้าม่านที่ดีและเหมาะกับบ้านนั้น นอกจากช่วยให้บ้านของท่านดูสวยขึ้นแล้ว ยังสามารถลดการใช้พลังงานได้อีกด้วย แต่จะเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับบ้านของเรา และม่านแบบไหนจะช่วยประหยัดพลังงาน พร้อมทั้งลดค่าไฟ ไปในตัวได้อีก วันนี้ กระทรวงพลังงาน ขอแนะนำการเลือกผ้าม่าน 4 ประเภท ดังนี้ 1. ม่านแขวน ม่านแขวนคือผ้าม่านยาว ๆ ที่แขวนตะขอหรือเจาะห่วง ห้อยไว้กับรางแขวน ม่านแขวนเป็นผ้าม่านที่เข้ากันได้ดีกับทุกสภาพอากาศ เพราะม่านประเภทนี้เปรียบเสมือนผ้าห่มช่วยกันหนาวเมื่อลมเย็น ๆ มาเยือน ในทางตรงกันข้ามยังเป็นเหมือนอุปกรณ์กันแดดชั้นดีเมื่อเข้าสู่หน้าร้อน และยังทำให้บรรยากาศภายในบ้านดูอบอุ่น และสวยงามด้วยแสงแดดอ่อน ๆ ที่ลอดผ่านเนื้อผ้าเข้ามา 2. ม่านบังแดด ม่านที่ประกอบด้วยผ้าเนื้อนิ่ม เปิด-ปิดด้วยการพับขึ้น-ลงหรือดึงเข้า-ออกทางด้านข้างก็ได้ คุณสมบัติเด่นของม่านประเภทนี้ก็คือสะท้อนความร้อนและแสงได้ดี นอกจากนี้ยังเป็นม่านที่ติดตั้งและทำความสะอาดได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยให้บรรยากาศโดยรวมดูสวยทันสมัยอีกด้วย 3. ม่านฮันนีคอมบ์ ม่านนี้มีจุดเด่นในเรื่องการช่วยประหยัดพลังงาน เพราะช่วยรักษาอุณหภูมิภายในให้อบอุ่นในช่วงหน้าหนาว และสามารถกักเก็บความเย็นได้เมื่อเข้าสู่หน้าร้อน ตัวม่านจะช่วยกรองรังสีและความร้อนให้ก่อนที่แสงจะเข้ามาในบ้าน จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับบ้านที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิในบ้านให้เหมาะสม โดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยอย่างเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำความร้อน 4. มู่ลี่ มู่ลี่มีทั้งชนิดที่เป็นไม้และพลาสติก มีตั้งแบบแนวตั้งและแนวนอนเพื่อปรับให้เข้ากับสภาพอากาศที่หลากหลาย แต่เนื่องจากไม่มีส่วนประกอบที่เป็นฉนวน ดังนั้นจึงอาจช่วยกันได้แค่แสง แต่ไม่สามารถกันความร้อนหรือความเย็นจากภายนอกอาคารได้มากนัก หากรู้แบบนี้แล้วใครที่ไม่อยากจ่ายค่าไฟแพง ๆ ตอนสิ้นเดือน ก็ควรเลือกประเภทของม่านให้เหมาะกับบ้าน การทำให้อุณหภูมิในห้องไม่สูงเกิน ก็จะช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลง และหากให้มีแสงเข้าบ้านปริมาณที่เหมาะสม ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟในช่วงกลางวัน การเลือกม่านที่เหมาะกับบ้านก็ประหยัดไฟได้ 2 ต่อเลยนะครับ #เลือกม่านให้เหมาะกับบ้าน #เทคนิคจัดบ้านประหยัดพลังงาน #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN
5 เมษายน 2564     |      826
กบง. ตรึงราคา LPG ต่ออีก 3 เดือน (เมษายน - มิถุนายน 2564)
กบง. ตรึงราคา LPG ต่ออีก 3 เดือน (เมษายน - มิถุนายน 2564) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและประชาชนอย่างต่อเนื่อง ที่ประชุม กบง. เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุม ได้มีมติตรึงราคา LPG โดยขยายเวลาตรึงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น LPG ที่ 14.3758 บาทต่อกิโลกรัม (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ออกไปอีก 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน 2564 ส่งผลให้มีราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ประมาณ 318 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน #กบง #ตรึงราคาLPG #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN
1 เมษายน 2564     |      272
ทั้งหมด 2 หน้า