งานจัดการพลังงาน กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
Energy management
จานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์ ผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากแสงแดดและน้ำ
วิศวกรจาก EPFL สร้างและทดสอบ "จานปฎิกรณ์แสงอาทิตย์" ที่สามารถผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากแสงแดดและน้ำ พบผลลัพธ์ภายใน 1 ปี จะให้พลังงานแก่รถยนต์ไฟฟ้าพลังเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน 1.5 คัน หรือรองรับการใช้พลังงานไฟฟ้าในครัวเรือนที่มีสมาชิกครอบครัว 4 คนไฮโดรเจน" ถือเป็นอีกหนึ่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งการผลิตไฮโดรเจนให้มีประสิทธิภาพสูงนั้นต้องใช้น้ำเป็นวัตถุดิบหลัก และใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวทำความร้อนที่ทำให้น้ำเดือดและระเหยกลายเป็นก๊าซไฮโดรเจน โดยกระบวนการนี้เรียกว่าการสังเคราะห์ด้วยแสงเทียม ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานของจานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์"จานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์" ผลิตโดยทีมวิศวกรจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส โลซาน หรือ EPFL (École Polytechnique Fédérale de Lausanne) มีลักษณะเหมือนจานดาวเทียม และมีระบบการทำงานที่คล้ายกับต้นไม้เทียม โดยจานปฏิกรณ์นี้มีพื้นผิวโค้งขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการรวบรวมแสงให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นการรวบรวมความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่มีความร้อนประมาณ 800 เท่า ไปยังเครื่องปฏิกรณ์โฟโตอิเล็กโตรเคมีที่แขวนอยู่ตรงกลาง และทำการสูบน้ำเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์นี้ จากนั้นใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการแยกโมเลกุลออกมากลายเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจนจากการทดสอบเป็นเวลากว่า 13 วัน ในวิทยาเขต EPFL พบว่า ประสิทธิภาพการผลิตด้วยจานปฏิกรณ์นั้นใช้น้ำในการผลิตอยู่ที่ 20% จึงทำให้น้ำส่วนที่เหลือจะไม่ได้ถูกแยกเป็นก๊าซแต่จะถูกทำให้ร้อนมากพอสำหรับส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมต่อไป ซึ่งจานปฏิกรณ์สามารถผลิตไฮโดรเจนได้ประมาณ 500 กรัมต่อวันด้วยผลลัพธ์นี้ ภายใน 1 ปี ระบบจะสามารถให้พลังงานแก่รถยนต์ไฟฟ้าพลังเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (FCEV) 1.5 คัน หรือรองรับการใช้พลังงานไฟฟ้าในครัวเรือนที่มีสมาชิกครอบครัว 4 คนนอกจากนี้ จานปฏิกรณ์ยังมีความสามารถในการดักจับของเสีย 2 ชนิดที่ปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิตไฮโดรเจน ได้แก่ ออกซิเจน และความร้อน โดยออกซิเจนจะมีประโยชน์สำหรับใช้ในโรงพยาบาลหรืออุตสาหกรรม ในขณะที่ความร้อนจะถูกส่งผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนและสามารถใช้เพื่อทำน้ำร้อนใช้ภายในอาคารจานปฏิกรณ์แสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าด้วยไฮโดรเจนได้ถึง 2 กิโลวัตต์ (kW) ซึ่งทำลายสถิติเดิมของการทดลองจานปฏิกรณ์นำร่องที่ผลิตได้ 1 กิโลวัตต์ (kW) ซึ่งอัตราการผลิตไฮโดรเจนที่ทำได้ในครั้งนี้สะท้อนถึงความน่าสนใจในการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป
11 พฤษภาคม 2566     |      418
โครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานและสาธิตการใช้พลังงานชีวภาพ (Bioenergy)
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ขอเชิญเข้าร่วม  โครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานและสาธิตการใช้พลังงานชีวภาพ (Bioenergy) จากพืชเศรษฐกิจที่มีการใช้จุลินทรีย์หรือจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมในกระบวนการผลิตเอทานอลและก๊าซชีวภาพ(red flag)สัมมนาชี้แจงโครงการและเผยแพร่ความรู้ จำนวน 5 ครั้ง (5 ภูมิภาค) สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาได้ที่ ?? https://forms.gle/1jnB1MAoTvsgQVtJ7(red flag)รับสมัครโรงงานต้นแบบเข้าร่วมโครงการ (จำนวนจำกัด) สนใจเข้าร่วมเป็นโรงงานต้นแบบ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  https://bit.ly/42ejmozสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณชนิกานต์ ขำประไพ (กานต์)  095 368 8396 คุณธันวรัตน์ ฉัตรศรี (ดาว)  02-129-3959งานสัมมนานี้เป็นการเริ่มต้นโครงการ ทางทีมจะมีโอกาสถ่ายทอดแนวคิดของภาครัฐเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในรูปแบบโครงการนำร่องซึ่งน่าจะนำมาใช้กับไบโอแก็สในทุกอุตสาหกรรม รวมทั้งในงานสัมมนายังได้มีโอกาสทบทวนกันเรื่อง Safetyในระบบก๊าซชีวภาพด้วยครับคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ จากตรงนี้ทางผู้วิจัยจะนำความรู้/ประสบการณ์ของทุกท่านไปพัฒนาคู่มือดูแลระบบก๊าซชีวภาพให้ดียิ่งขึ้นด้วยครับ เอกสารและะผลงานวิจัยของโครงการน่าจะมีประโยชน์กลับผู้สนใจพัฒนาโครงการก๊าซชีวภาพต่อไป
11 พฤษภาคม 2566     |      461
งานสหกิจศึกษา วันที่ 24-25 พ.ย. 2564 ให้ความรู้และสอนงานนักศึกษาสหกิจเรื่องการตรวจสอบและนำนักศึกษาดำการจดบันทึกมิเตอร์ไฟฟ้า มิเตอร์น้ำประปา อาคารที่ทำการ บ้านพัก ร้านค้าผู้ประกอบการภายในมหาวิทยาลัยทั้งหมด เพื่อจัดทำรายงานและวิเคราะห์สถิติกการใช้ไฟฟ้า และน้ำประปาของมหาวิทยาลัยประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
งานสหกิจศึกษา วันที่ 24-25 พ.ย. 2564 ให้ความรู้และสอนงานนักศึกษาสหกิจเรื่องการตรวจสอบและนำนักศึกษาดำการจดบันทึกมิเตอร์ไฟฟ้า มิเตอร์น้ำประปา อาคารที่ทำการ บ้านพัก ร้านค้าผู้ประกอบการภายในมหาวิทยาลัยทั้งหมด เพื่อจัดทำรายงานและวิเคราะห์สถิติกการใช้ไฟฟ้า และน้ำประปาของมหาวิทยาลัยประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
25 พฤศจิกายน 2564     |      2438
6??ทิป เดินทางประหยัดพลังงาน??
6??ทิป เดินทางประหยัดพลังงาน?? ในแต่ละวัน คนเรามีการเดินทางที่หลากหลาย ทั้งเดินทางไปทำงาน ท่องเที่ยว พักผ่อน ซื้อของ ช้อปปิ้ง หรือทำกิจธุระต่าง ๆ แต่จะทำอย่างไรให้การเดินทางนั้น ประหยัดพลังงานไปด้วย วันนี้กระทรวงพลังงาน มี 6 ทิปดี ๆ มานำเสนอเพื่อการเดินทางแถมยังประหยัดพลังงานกัน ??1.วางแผนเส้นทาง วางแผนเส้นทางก่อนเดินทาง จะได้ไม่หลงทางหรือขับออกนอกเส้นทาง เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานหรือลดความสิ้นเปลืองของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและยังประหยัดเวลาได้อีกด้วย ??2.หากใกล้ให้เดินเท้า หากจุดหมายอยู่ไม่ไกลมาก ควรเดินไปไม่ใช้รถ หรือจะเปลี่ยนมาปั่นจักรยานแทนก็ได้ เพราะได้ทั้งประหยัดพลังงาน แถมยังได้ออกกำลังไปในตัว ??3.เน้นใช้รถสาธารณะ หากที่พักของเราใกล้กับที่ทำงานหรือมีความสะดวกในการใช้รถสาธารณะ เช่นรถไฟฟ้า รถประจำทาง ก็ควรใช้บริการ เพราจะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าใช้รถยนต์ส่วนตัว ??4.ชั่วโมงรถติดไม่ดีแน่ หากเป็นไปได้หลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงเวลา หรือเส้นทางที่มีการจราจรติดขัด ??5. ตรวจสอบเครื่องยนต์ให้พร้อมใช้งานหมั่นตรวจสอบสภาพรถ และสภาพเครื่องยนต์ นอกจากเพื่อให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอแล้ว ยังทำให้รู้ถึงสมรรถนะของเครื่องยนต์ ที่ส่งผลไปถึงอัตราการสิ้นเปลืองของน้ำมันเชื้อเพลิง และยังเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางด้วยเช่นกัน ??6.หาเส้นทางลัด ควรศึกษาเส้นทางลัดหรือเส้นทางที่รถไม่ติดก่อนการเดินทาง เพื่อที่จะได้ประหยัดเวลาและน้ำมันและลดความแออัดบนท้องถนน เพียงเท่านี้ ก็สามารถเดินทางไปสู่จุดหมายอย่างปลอดภัย แถมยังได้ร่วมประหยัดพลังงานอีกด้วย #เดินทางประหยัดพลังงาน #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN ดูน้อยลง
21 ตุลาคม 2564     |      1008
5 เทคนิคดีๆ ตรวจสอบเครื่องยนต์ให้ปลอดภัย พร้อมเดินทางช่วงหยุดยาว ???
5 เทคนิคดีๆ ตรวจสอบเครื่องยนต์ให้ปลอดภัย พร้อมเดินทางช่วงหยุดยาว ??? ในช่วงวันหยุดยาวนี้ หลายท่านอาจต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง หรือขับรถไปสถานที่ท่องเที่ยวในต่างจังหวัด กระทรวงพลังงาน ขอแนะนำการตรวจสอบเครื่องยนต์ของท่านเพื่อให้สามารถใช้รถได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน 5 ข้อ ดังต่อไปนี้ . 1??เช็คน้ำมันเครื่องก่อนการเดินทาง พื้นฐานสำคัญที่สุดสำหรับการดูแลเครื่องยนต์ คงหนีไม่พ้นน้ำมันเครื่อง โดยน้ำมันเครื่องจะเข้าไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่องยนต์ ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะที่ผู้ผลิตรถยนต์แนะนำหรืออย่างน้อยทุก ๆ 10,000 กิโลเมตรหรือทุก ๆ 6 เดือน หากไม่แน่ใจลองเช็คก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง ที่ต้องไม่ต่ำกว่าระดับ MIN ต่ำสุด 2??เครื่องยนต์ต้องพร้อมใช้งาน ดูแลระบบสำคัญของรถที่ช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ได้แก่ ระบบระบายความร้อน ที่ต้องทำงานปกติและมีระดับน้ำหล่อเย็นในระดับสูงกว่า MIN เสมอ ระบบกรองอากาศ ที่ต้องคอยเปลี่ยนทำความสะอาดฝุ่นละอองหรือเปลี่ยนไส้กรอง และระบบกรองน้ำมัน ที่ต้องคอยตรวจสอบว่าไส้กรองทำงานปกติไม่อุดตัน เพื่อคัดกรองสิ่งแปลกปลอมที่อาจมากับน้ำมันก่อนส่งเข้าเครื่องยนต์ 3??ใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด ขับรถที่ความเร็วพอเหมาะตามกฎหมายกำหนด ไม่เร่งรอบเครื่องยนต์มากเกินไป การเร่งเครื่องยนต์รอบสูงนอกจากจะเปลืองน้ำมันแล้ว ยังเร่งให้เกิดการสึกหรอต่อระบบภายในเครื่องยนต์ทั้งหมด ส่งผลให้เครื่องหลวม แรงตก เสื่อมสมรรถนะเร็วและอาจเกิดอุบัติเหตุได้ 4??พักเครื่องยนต์บ้างระหว่างเดินทาง หากต้องขับรถติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรมีช่วงจังหวะให้รถยนต์ได้พักเพื่อลดอุณหภูมิเครื่องยนต์ระหว่างทาง แต่ไม่ควรดับเครื่องยนต์ทันที ควรลดความเร็วก่อนถึงที่หมาย 5-10 นาทีเพื่อคูลดาวน์เครื่องยนต์ โดยเฉพาะเครื่องยนต์ที่ติดเทอร์โบ ที่ควรรออุณหภูมิในเทอร์โบลดลงซัก 3-4 นาทีก่อนดับเครื่องยนต์ 5??เลือกใช้น้ำมันที่มีคุณภาพ น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน การเลือกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับเครื่องยนต์จะมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดน้ำมัน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ได้ด้วย . การเดินทางทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นช่วงวันหยุด หรือเทศกาล ควรจะมีการเตรียมความพร้อมทุกครั้งที่ขับขี่ กระทรวงพลังงานจึงขอแนะเทคนิค5ข้อ ดีๆนี้ สำหรับท่านเพื่อเตรียมความพร้อมแล้วก็ออกเดินทางในช่วงวันหยุดนี้ได้อย่างปลอดภัยครับ #5เทคนิคดีๆตรวจสอบเครื่องยนต์ให้ปลอดภัยพร้อมเดินทางช่วงหยุดยาว #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN ดูน้อยลง
21 ตุลาคม 2564     |      410
‘ทานหรือใช้สินค้าออร์แกนิก’ ไอเดียใหม่ ใช้ชีวิต ‘Energy style’ ประหยัดพลังงาน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
‘ทานหรือใช้สินค้าออร์แกนิก’ ไอเดียใหม่ ใช้ชีวิต ‘Energy style’ ประหยัดพลังงาน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม 3 เทคนิค “Energy style” ที่จะช่วยให้คุณประหยัดพลังงาน ไปพร้อมๆกับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม ? ลดทานเนื้อ สนับสนุนพืชออร์แกนิก มีการคาดการณ์ว่า การปศุสัตว์ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกแก่โลกสูงถึง 14.5-18% และอาจจะมากไปถึง 51% โดยมาจากพลังงานที่ใช้ในการผลิตสร้างอาหารให้กับสัตว์จำนวนมาก ซึ่งหากเราลดการกินเนื้อลง และเปลี่ยนไปเป็น กินพืชแทน จะช่วยลดการสูญเสียพลังงาน และนอกจากนั้น ควรเลือกกินผักออร์แกนิก เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีด้วย ? ถุงผ้า ถุงที่ใช้ซ้ำได้ นำกลับมาใช้ใหม่ ขยะที่ทับถมกันเป็นจำนวนมากจะปล่อยก๊าซมีเทนออกมาอย่างมากมาย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้อากาศเสีย ดังนั้น การลดขยะด้วยการใช้ถุงผ้าหรือถุงที่ใช้ซ้ำได้ หรือยังมีคุณภาพดี กลับมาใช้ใหม่จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย ? เลือกใช้ของที่ย่อยสลายได้ง่าย เราควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารที่ทำจากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่าย หรือเลือกสินค้าที่ไม่ต้องใช้หีบห่อ ถุงหุ้มมากมาย เพื่อลดการผลิตพลาสติกจากโรงงานอุตสาหกรรม การปรับตัวในรูปแบบของ Energy style เป็นสิ่งง่าย ๆ ที่เราสามารถปรับตัวได้ ขอเพียงเราทุกคนช่วยกันรับผิดชอบสังคม ร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า เพื่อให้มีพลังงานใช้อย่างยั่งยืน #ทานหรือใช้สินค้าออร์แกนิก #ประหยัดพลังงาน #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN
7 กรกฎาคม 2564     |      476
แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศตามนโยบาย 30/30 ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก
แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศตามนโยบาย 30/30 ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก โดยคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ได้ออกแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตามนโยบาย 30/30 คือการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ.2573 ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะนำพาประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) ในอนาคต ซึ่งขณะนี้หลาย ๆ ประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ได้กำหนดเป้าหมายและมาตรการที่ชัดเจนในการส่งเสริม EV แล้ว จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 ในวันที่ 13 พ.ค.64 ที่ผ่านมา ได้กำหนดเป้าหมายการผลิตและการใช้ EV ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือกันระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการนำแนวทางต่าง ๆ ไปศึกษาถึงรายละเอียดและความเป็นไปได้ของมาตรการส่งเสริมต่างๆ เพื่อนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไปโดยมาตรการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) : ปี 2564 – 2565 นำร่องส่งเสริมการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานรองรับทั่วประเทศ ระยะที่ 2 : ปี 2566 – 2568 พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยมีเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะ 225,000 คัน รถจักรยานยนต์ 360,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 18,000 คัน ภายในปี 2568 รวมถึงการผลิตแบตเตอรี่ เพื่อตอบสนองการผลิตในประเทศ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดแรกและถือว่าเป็นเป้าหมายการผลิตในระดับ Economy of Scale ระยะที่ 3 : ปี 2569 – 2573 ขับเคลื่อนแผนและมาตรการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเพื่อให้บรรลุตามนโยบาย 30/30 ซึ่งมีเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะทั้งสิ้น 725,000 คัน ประเภทรถจักรยานยนต์จะมีการผลิตทั้งสิ้น 675,000 คัน คิดเป็น 30% ของการผลิตในปี 2573 และรวมถึงการผลิตแบตเตอรี่เพื่อตอบสนองการผลิตในประเทศด้วย ในวันนี้ เรื่องของยานยนต์ไฟฟ้าจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ อีกทั้งประหยัดพลังงานและเชื้อเพลิง อยากให้ทุกท่านช่วยผลักดันให้นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าได้เข้ามามีบทบาท ในสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิต ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ เชื่อว่าจะทำให้สิ่งแวดล้อมและสิ่งต่าง ๆ ดีขึ้นอย่างแน่นอน #แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า #EV #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN
1 กรกฎาคม 2564     |      2150
คาดเสนอแผนลงทุน โรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่อง 8-9 ให้ ครม.อนุมัติได้ปลายปีนี้
กฟผ.คาดเสนอแผนลงทุน โรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 ขนาด 600 เมกะวัตต์ มูลค่าประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท ให้ ครม.พิจารณาได้ปลายปี 2564 นี้ โดยตามแนวทางของ?แผนพลังงานแห่ง?ชาติ?ถูกระบุว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นในประเทศ แหล่งข่าวกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ถึงแม้ว่าแนวทางจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan) ที่ให้ความสำคัญกับการกำหนดเป้าหมายในการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutral) และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero) โดยเน้นไปที่การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น โดยจะส่งผลให้โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหิน ที่เป็นโรงไฟฟ้าสร้างใหม่ในอนาคตจะไม่เกิดขึ้นอีกในประเทศนั้น แต่ความจำเป็นที่ต้องมีการอนุมัติให้สร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 (MMRP2) ขนาดกำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ. ) ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งจะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงสุดท้ายที่ภาครัฐยังมีการรับซื้อเข้าระบบ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ( PDP 2018 Rev.1 ) ที่มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ ( COD ) ในปี 2569 เนื่องจากเป็นการใช้ทรัพยากรถ่านหินลิกไนต์ที่มีอยู่ในประเทศ ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ และเป็นการเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าในภาคเหนือ ทั้งนี้ปัจจุบัน แม่เมาะมีปริมาณสำรองถ่านหินลิกไนต์ประมาณ 300-400 ล้านตัน และมีการใช้อยู่ที่ 16 ล้านตันต่อปี แต่ในอนาคตหากโรงไฟฟ้าแม่เมาะทยอยหมดอายุลงจะทำให้ปริมาณการใช้ถ่านหินลดลง 50% หลังปี 2570 เป็นต้นไป โดย กฟผ.ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการดังกล่าว เสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างนำเสนอสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. และ สํานักงบประมาณ กระทรวงการคลัง เพื่อให้ความเห็นในประเด็นต่างๆ และคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนได้ภายในปี 2564 นี้ แหล่งข่าวการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระบุว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ ทดแทนยูนิตที่ 8-9 หรือ Mae Mo Replacement 2 ที่หมดอายุในปี 2563 และจะมีการจัดตั้งโรงไฟฟ้าใหม่ในพื้นที่เดิม เบื้องต้น คาดว่า จะใช้เงินลงทุนใกล้เคียงกับโครงการแม่เมาะที่สร้างทดแทน ยูนิตที่ 4-7 ขนาด 650 เมกะวัตต์ มูลค่าลงทุน 3.5 หมื่นล้านบาท จะใช้ระยะเวลาก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนประมาณ 3 ปี โดยกำลังผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ภาคเหนือในปัจจุบันมีเกินกว่าความต้องการใช้เล็กน้อย จึงสามารถส่งกำลังผลิตที่เหลือไปป้อนความต้องการใช้ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ แต่ในปี 2570 ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ยูนิตที่ 10-13 จะหมดอายุลงจะทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ภาคเหนือหายไป 1,200 เมกะวัตต์ จากที่มีอยู่ 2,400 เมกะวัตต์ ซึ่งหากไม่มีการสร้างโรงไฟฟ้ามาทดแทนกำลังการผลิตดังกล่าว จะทำให้พื้นที่ภาคเหนือ ก็ต้องเปลี่ยนมารับไฟฟ้าผ่านสายส่งจากภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปทดแทนเพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในพื้นที่ ที่มา : https://www.energynewscenter.com/
25 มิถุนายน 2564     |      578
4 นวัตกรรมแห่งอนาคต ช่วยลดขยะล้นเมือง
4 นวัตกรรมแห่งอนาคต ช่วยลดขยะล้นเมือง ปัญหาขยะพลาสติกล้นเมือง ยังคงเป็นปัญหาที่หลายๆ ประเทศต้องเผชิญ สำหรับประเทศไทยแล้ว มีการรณรงค์ในการช่วยกันปริมาณการใช้พลาสติก ซึ่งก็ถือว่า ได้รับความร่วมมือจากทั้งภาคเอกชน ผู้ประกอบการต่าง ๆ ในการลดใช้ถุงใส่ของ รวมทั้งภาคประชาชน ที่หันมานิยมใช้ถุงผ้ากันเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาขยะพลาสติก ก็ยังคงสร้างปัญหาอยู่ในหลายพื้นที่ วันนี้ กระทรวงพลังงาน ได้นำสาระดี ๆ ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการบริหารจัดการขยะพลาสติก มาบอกเล่าให้เป็นความรู้กันถึง 4 รูปแบบ ได้แก่ 1.นวัตกรรมอัพไซคลิ่ง (Upcycling) นวัตกรรมอัพไซคลิ่ง คือ การนำขยะมาแปรรูปให้กลายเป็นสิ่งใหม่ ผ่านกระบวนการรีไซเคิล ที่ช่วยและจัดการแก้ปัญหาพลาสติก โดยไม่สร้างขยะกลับคืนสู่วงจรขยะพลาสติกอีกครั้ง แถมยังได้สร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกด้วย 2.พลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ (Bioplastic) พลาสติกชนิดนี้สามารถย่อยสลายได้เองด้วยจุลินทรีย์ และแบคทีเรียตามธรรมชาติ โดยผลิตจากวัตถุดิบที่ทดแทนขึ้นใหม่ได้ในธรรมชาติ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ฯลฯ 3.นวัตกรรมเพื่อการจัดการไมโครพลาสติก (Microplastic) เนื่องจากไมโครพลาสติกถือเป็นพลาสติกขนาดเล็กและมองไม่เห็น ซึ่งมักจะปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ทะเล จึงได้มีการคิดค้น จัดหาวัสดุทดแทน หรือมีกระบวนการจัดการที่รัดกุม เพื่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่ดีขึ้นทั้งระบบ 4.การเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นพลังงาน กระบวนการนี้เป็นไปเพื่อลดต้นทุนการผลิตพลังงาน และสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยนำขยะพลาสติกที่มีอยู่จำนวนมหาศาล มาแปรรูปเป็นพลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ๆ เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้ นวัตกรรมเหล่านี้ เริ่มเข้ามามีบทบาททั้งในปัจจุบันและจะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต มันจะช่วยให้ขยะต่าง ๆ ถูกจัดการได้อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ขยะมีปริมาณลดลง ที่สำคัญเมืองของเราก็จะน่าอยู่มากขึ้นด้วยครับ ที่มา : สำนักข่าว BLT BANGKOK (https://www.bltbangkok.com/lifestyle/urban-living/12109/) #4นวัตกรรมแห่งอนาคตที่จะช่วยลดขยะล้นเมืองได้ #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN
17 มิถุนายน 2564     |      17724
มาแชร์กัน 5 วิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักษ์พลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม
มาแชร์กัน 5 วิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักษ์พลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม ใคร ๆ ก็รู้ว่าเทรนด์รักษ์โลกปีนี้มาแรง เราควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการอนุรักษ์พลังงานไปด้วยกัน วันนี้กระทรวงพลังงาน มี 5 วิธี ที่ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน 1. ซื้อของที่ตลาด ร้านค้า หรือซูเปอร์มาร์เก็ต ให้ใช้ถุงผ้าใส่ของ แทนการใช้ถุงพลาสติก 2. เมื่อต้องซื้ออาหารที่ร้าน รวมถึงต้องห่อข้าวจากที่บ้านไปที่ทำงาน เลือกใช้ปิ่นโตหรือกล่องใส่อาหารแทนการใช้กล่องโฟม 3. ปั่นจักรยานหรือเดิน แทนการนั่งรถในระยะทางใกล้ ๆ จะช่วยประหยัดพลังงานได้ 4. เปลี่ยนจากการใช้แก้วพลาสติกเป็นแก้วน้ำส่วนตัว พกไว้ใช้ใส่ชา กาแฟหรือน้ำดื่มแทนครับ 5. ลดการใช้เครื่องปรับอากาศในบ้าน ลดการใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น รับลมและใช้แสงสว่างจากธรรมชาติ เพียงเท่านี้ 5 วิธีง่ายๆที่ทุกท่านสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันครับ #5วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรม #รักษ์พลังงานรักษาสิ่งแวดล้อม #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN
7 พฤษภาคม 2564     |      1039
ตรวจสอบให้ดี ! ปลั๊กพ่วงที่ไม่พร้อมใช้งาน อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
ตรวจสอบให้ดี ! ปลั๊กพ่วงที่ไม่พร้อมใช้งาน อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ จากที่มีข่าวเกี่ยวกับเหตุเพลิงไหม้ ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากปลั๊กพ่วงที่ไม่พร้อมใช้งานหรือเสื่อมสภาพ ซึ่งเราอาจไม่ทันสังเกตเห็น วันนี้ กระทรวงพลังงาน ขอแนะนำให้ตรวจสอบปลั๊กพ่วง ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ และต้องหมั่นดูแลรักษาให้ปลอดภัย มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย 1. สายไฟต้องไม่มีรอยฉีกขาด บิดเบี้ยว ตัวอุปกรณ์ต้องไม่แตกหัก ร้าว 2. ไม่นำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟเยอะ เช่น เตารีด สว่าน มาใช้กับปลั๊กพ่วง และควรถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังใช้งาน แล้วทุกครั้ง 3.เลือกใช้ปลั๊กพ่วงที่ได้มาตรฐาน มีสัญลักษณ์เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) 2432-2555 หรือ มอก.ปลั๊กพ่วง ที่ชัดเจน 4.หมั่นตรวจสอบและทำความสะอาดปลั๊กพ่วงอยู่เสมอ ไม่ควรปล่อยให้เก่าชำรุดหรือมีรอยไหม้ เราควรหมั่นคอยตรวจสอบและปลูกฝังให้ความรู้กับคนในครอบครัวเกี่ยวกับการใช้งานปลั๊กพ่วงอย่างถูกวิธี และฝึกสังเกตเพื่อให้ปลั๊กพ่วงมีความพร้อมในการใช้งานและใช้ได้อย่างปลอดภัย อ่านจบแล้วเราไปเริ่มตรวจสอบปลั๊กพ่วงภายในบ้านกันได้เลยนะครับ #ตรวจสอบอุปกรณ์ในบ้านที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ #ประหยัดพลังงาน #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN
7 พฤษภาคม 2564     |      634
ทั้งหมด 6 หน้า